ช่วงปลายเดือนกันยายน ผมได้มีโอกาสจากมหาวิทยาลัย ได้ส่งไปเรียนคอร์ส Teaching EBM (วิธีการสอน EBM) จากมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษมา ซึ่งเป็นแหล่งที่ดังด้าน EBM มากแหล่งหนึ่ง (อีกที่ที่มีชื่อเสียงคือ McMaster University แคนาดา) เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ครับ
Center for Evidence Based Medicine ที่ Oxford มีคอร์สที่เปิดให้คนนอกลงทะเบียนเยอะพอสมควร
และคอร์สเหล่านี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน Master ที่นั่น หมายความว่าคนนอกก็จะเรียนปะปนไปกับนักเรียน Master โดยนักเรียน Master
มีสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม คือมี Assignment
ที่ต้องทำหลังจากที่จบคอร์สแล้วด้วยครับ (แต่คนนอกไม่ต้องทำ) ระยะเวลาเรียนของคอร์สนี้เป็นเพียงสัปดาห์เดียว
แต่ก็เป็นสัปดาห์ที่เข้มข้นมากครับ เรียนตั้งแต่เก้าโมงถึงห้าโมงเย็นทุกวัน
(พักกินข้าวแค่ชั่วโมงเดียวตอนเที่ยง) รูปแบบการเรียนของที่เขาจัดจะเป็น
Lecture ในห้องใหญ่ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะแยกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ
10-15 คน ต่อคนครบครึ่งวัน แล้วช่วงบ่ายก็มี Lecture
สลับกับกลุ่มย่อยเหมือนกันจนเย็นครับ
11 ตุลาคม 2562
23 มกราคม 2562
มือใหม่หัดเขียน Proposal: จะเก็บข้อมูลในงานวิจัยอะไรดีบ้าง?
วันนี้ได้มีโอกาสบรรยายเรื่องสถิติให้นักศึกษาปี 1 ฟังครับ
แน่นอนว่าน้องๆ เหล่านี้เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย ความรู้ที่มีติดตัวมานั้นก็เป็นความรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษา (ยกเว้นบางคนที่ขวนขวายมากกว่าคนอื่นเลยเคยอ่านหนังสือระดับมหาวิทยาลัยมาก่อน) น้องๆ หลายคน สนใจเกี่ยวกับการทำโปรเจควิจัยทางการแพทย์ด้วย
ซึ่งผมว่านักศึกษารุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญของการวิจัยในอนาคต จึงเป็นสิ่งดี ที่จะได้มีโอกาสในการรับรู้ถึงหลักการของการทำงานวิจัยคร่าวๆ ไม่ต้องทำงานใหญ่มากก็ได้ แต่จะต้องมีไอเดียที่ดีในการออกแบบงานวิจัย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่คณะที่ผมทำงานอยู่ได้มีโอกาสให้น้องได้ลองมาเรียนรู้กัน
หลังจากการบรรยายเสร็จ มีน้องคนหนึ่งถามว่า เอ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเริ่มเก็บข้อมูลอย่างไรดี
เป็นคำถามที่ไม่แปลก สำหรับมือใหม่ ที่ไม่เคยเก็บข้อมูลมาก่อนเลย อาจจะมีไอเดียในการวิเคราะห์ พยายามหาคำตอบให้กับปัญหาหลายๆ ปัญหาที่พวกเราอาจจะกำลังเจออยู่
แน่นอนว่าน้องๆ เหล่านี้เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย ความรู้ที่มีติดตัวมานั้นก็เป็นความรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษา (ยกเว้นบางคนที่ขวนขวายมากกว่าคนอื่นเลยเคยอ่านหนังสือระดับมหาวิทยาลัยมาก่อน) น้องๆ หลายคน สนใจเกี่ยวกับการทำโปรเจควิจัยทางการแพทย์ด้วย
ซึ่งผมว่านักศึกษารุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญของการวิจัยในอนาคต จึงเป็นสิ่งดี ที่จะได้มีโอกาสในการรับรู้ถึงหลักการของการทำงานวิจัยคร่าวๆ ไม่ต้องทำงานใหญ่มากก็ได้ แต่จะต้องมีไอเดียที่ดีในการออกแบบงานวิจัย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่คณะที่ผมทำงานอยู่ได้มีโอกาสให้น้องได้ลองมาเรียนรู้กัน
หลังจากการบรรยายเสร็จ มีน้องคนหนึ่งถามว่า เอ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเริ่มเก็บข้อมูลอย่างไรดี
เป็นคำถามที่ไม่แปลก สำหรับมือใหม่ ที่ไม่เคยเก็บข้อมูลมาก่อนเลย อาจจะมีไอเดียในการวิเคราะห์ พยายามหาคำตอบให้กับปัญหาหลายๆ ปัญหาที่พวกเราอาจจะกำลังเจออยู่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)