นักระบาดวิทยา มักจะชอบวัดสิ่งต่างๆ โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ ครับ โดยปกติแล้วทางระบาดวิทยา การเปรียบเทียบในลักษณะนี้จะออกมาในสามรูปแบบคือ
- Ratio
- Proportion และ
- Rate
1. Ratio (ภาษาไทยคือ อัตราส่วน) เป็นการเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่ง กับของอีกสิ่งหนึ่ง โดยที่สองสิ่งนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลยก็เป็นได้ การเปรียบเทียบนี้จะอยู่ในรูปของ
$$จำนวนหรืออัตราหรืออะไรก็ตามในกลุ่มแรก\over จำนวนหรืออัตราหรืออะไรก็ตามในกลุ่มที่สอง$$
ยกตัวอย่างเช่น Ratio ทีเราเห็นบ่อยๆ ก็เช่น Ratio ของผู้ชาย:ผู้หญิง Ratio ของ Case:Control ซึ่งจะเห็นได้ว่าสองสิ่งที่มาเปรียบเทียบนั้นอาจจะไม่เกี่ยวอะไรกันก็ได้ (หรือจะเกี่ยวข้องกันเป็นส่วนหนึ่งในส่วนใหญ่ก็ไม่ผิด)
Ratio อื่นๆ ที่เราเห็นในงานวิจัยบ่อยๆ ก็อย่างเช่น Risk Ratio (อีกชื่อของ Relative Risk นั่นเอง), Odds Ratio ที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ครับ
สำหรับ Ratio แล้วเราอาจจะตัดเศษ ตัดส่วน ทอนให้เป็นจำนวนเต็มหรือจุดทศนิยมก็ได้ เช่น Relative Risk 30:10 เราก็มักจะทอนเป็น $30/10$ = 3.00 เป็นต้นครับ (ซึ่งในทางคณิตศาสตร์แล้ว ก็ยังคงความหมายเดิม คือ 3:1)
2. Proportion (ภาษาไทยคือ สัดส่วน) เป็นการเปรียบเทียบของสิ่งย่อย ในสิ่งที่ใหญ่กว่าครับ นั่นคือส่วนที่เป็นตัวตั้ง จะต้องอยู่เป็นส่วนหนึ่งของส่วนที่เป็นตัวหาร โดยมากแล้วการเปรียบเทียบ Proportion จะอยู่ในรูปของ
$${จำนวนหรือคนที่มีลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ\overจำนวนหรือคนทั้งหมด}\times10^n$$
โดย n จะเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแต่ว่าเราต้องการเป็นแบบไหน (เช่นต่อร้อยคน ต่อแสนคน) โดยมากเรามักจะนิยม % ใช่ไหมครับ ดังนั้น n จึงเป็น 2 (คูณ $10^2$ หรือ 100 นั่นเอง)
จะสังเกตว่าการวัดแบบ Proportion นี้ก็เป็น Ratio แบบหนึ่งด้วย คือมีการเปรียบเทียบกับของสองสิ่งซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกัน (แต่ในที่นี้ Proportion เกี่ยวข้องกัน) แต่ไม่ใช่ว่าทุก Ratio จะเป็น Proportion (เช่น Ratio ผู้ชาย:ผู้หญิง ไม่เป็น Proportion, แต่ % ของผู้ชายเป็น Proportion)
เราสามารถคำนวณ Proportion กลับไปเป็น Ratio และกลับไปกลับมาได้ไม่ยากครับ
เช่นเราทราบ Proportion ผู้ชาย = 45%
ดังนั้น Proportion ผู้หญิง = 100% - 45% = 55%
ดังนั้น Ratio ผู้ชาย:ผู้หญิง = $\frac{45%}{55%}$
ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้ Ratio Case:Control 3:4
Proportion ของ Case = $3\over(3+4)$ = $3\over7$ = 0.43 นั่นเองครับ
3. Rate (ภาษาไทยคือ "อัตรา" เฉยๆ) เป็นการเปรียบเทียบให้ทราบถึงความเร็วในการเกิดอะไรบางอย่างขึ้นครับ การเปรียบเทียบแบบนี้จะมี "เวลา" เข้ามาเกี่ยวข้อง
ยกตัวอย่างเช่น Incidence Rate (หรือที่เราเคยคำนวณเป็น Incidence ไปคราวที่แล้ว) เป็นการคำนวณของ
$$จำนวนเคสที่เกิดขึ้นมาใหม่\overจำนวนเวลาที่ Follow up คนไข้ในแต่ละคนมาบวกกันจนกว่าจะเกิด Outcome$$
สังเกตว่าจะเป็นจำนวน "เวลา" ดังนั้นในหน่วยของ Incidence Rate จะเป็นหน่วยที่มีเวลา เช่น "คน-ปี" "ต่อคนต่อปี" เป็นต้นครับ
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับ Rate นี้นักระบาดหลายท่านไม่ได้จำกัดเฉพาะการมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อนุโลมรวมไปถึง Proportion บางอย่างที่ใช้จำนวนเคสเป็นตัวตั้ง และจำนวนประชากรเป็นตัวหารอีกด้วย (ซึ่งจริงๆ แล้วมันน่าจะเรียก Proportion มากกว่า Rate แต่มันเลยตามเลยมานานแล้วจนหลายคนเรียกติดปากกันไปหมด)
ยกตัวอย่าง Rate ที่น่าจะเป็น Proportion มากกว่า ก็ได้แก่ Prevalence Rate นี่เองครับ มันคือ
$${จำนวนคนที่เป็นเคส\overจำนวนคนทั้งหมด}\times100%$$
จะสังเกตว่า มันไม่มีเวลามาเกี่ยวข้องเลย! แต่เราก็เรียกมันว่า Prevalence Rate ซะติดปากกันไปแล้ว คงตามแก้ลำบาก
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Mortality Rate ครับ มันคือ
$${จำนวนการตายในเวลาหนึ่งๆ\overขนาดของประชากรที่มีคนตายนั้น}\times10^n$$
สังเกตว่าก็ไม่มีเวลาอยู่อีกเช่นกันครับ แต่เราก็ยังเรียกกันติดปากว่า Rate อีกเหมือนกัน
ถ้าว่างๆ ผมจะลองยกตัวอย่างการวัดที่เป็น Ratio, Proportion, Rate ในทางระบาดเพิ่มให้ดูกันอีกนะครับ
อ.เขียนเรื่อยๆนะครับ ผมจะติดรามเข้ามาอ่านครับ
ตอบลบผมเข้ามาอ่านเกือบทุกหัวข้อแล้วครับ เขียนอธิบายได้ดีมากๆครับ อ่านเข้าใจง่าย ขอให้มีสิ่งดีๆมานำเสนอเรื่อยๆนะครับ
ตอบลบขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ อยากจะเรียนถาม เรื่องการที่เราคิดปัญหางานวิจัยสักเรื่อง หลังจากที่เรา ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบแล้ว พบว่า RCT ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่มีความเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาปัจจัยที่แน่นอน เราควรถอยกลับมาศึกษาปัจจัย แทนที่จะสร้างเป็นงานวิจัยเชิงทดลองใช่มั้ยค่ะ
ตอบลบการทำงานวิจัยใดๆ ก็ตามควรจะมีการ review งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สมบูรณ์ครับ ถ้าความรู้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ผมคิดว่าอาจจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมครับ
ตอบลบอาจารย์ค๊ะ รบกวนปรึกษาคะ ถ้าต้องการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม intervention และ control ในตัวแปรดังนี้
ตอบลบ1.อัตราการหกล้ม ที่คำนวณจาก จำนวนการหกล้มที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกลุ่มต่อระยะเวลาการติดตามผลทั้งหมด
2.จำนวนคนที่หกล้ม ที่คำนวณจาก จำนวนคนที่หกล้มในกลุ่มต่อระยะเวลาการติดตามผลทั้งหมด
ตัวแปรข้อ 1, 2 จัดว่าเป็นระดับใดค๊ะ (nominal/ordinal/interval/ratio)
การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยที่มีจำนวนตัวอย่างน้อย (น้อยกว่า 30 ราย) มีแนวทางการเลือกใช้สถิติอย่างไรคะ ควรคำนึงถึงอะไรก่อน
ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ..
อาจารย์ รบกวนถามนอกเรื่องค่ะ ว่า head to head trial มันต่างจากcomparative studyเฉยๆอย่างไรคะ เช่น
ตอบลบStudy to Test the Efficacy and Safety of the Beta-3 Agonist Mirabegron (YM178) in Patients With Symptoms of Overactive Bladder (SCORPIO) https://clinicaltrials.gov/ct2/show/study/NCT00689104?sect=Xf0156 มียา A B, placebo เทียบกับbase line แต่ทำไมเป็น non head to head
แต่
Qualify: a randomized head-to-head study of aripiprazole once-monthly and paliperidone palmitate in the treatment of schizophrenia
http://www.schres-journal.com/article/S0920-9964(15)00346-1/fulltext
ยา A B เทียบกับbase line แต่ทำไมเป็น head to head
pandora jewelry
ตอบลบugg boots
replica watches for sale
adidas yeezy
oakley sunglasses
canada goose jackets
coach outlet
coach handbags
retro jordans 11
rolex watches
chenlina20170112
nike roshe 1
ตอบลบcheap ray ban sunglasses
nike basketball shoes
ray ban glasses
michael kors bags
oakley outlet
timberland store
louis vuitton outlet stores
true religion
toms outlet
2017.2.25chenlixiang
christian louboutin shoes
ตอบลบlongchamp bags
longchamp bags
michael kors outlet online
coach outlet store online
cheap mlb jerseys
ray bans uk
nike roshe run shoes
montblanc pen
jordan shoes
chenyingying20170302
balenciaga
ตอบลบkd 10
kyrie 6
adidas tubular
nike vapormax
hermes online
calvin klein underwear
adidas gazelle
nike sneakers for women
curry 7 sour patch
i9v48q2d48 s2d15e5f07 x6s16t0y12 i5q88u8p91 f3n75i8w50 f6r35l2g89
ตอบลบ