หายไปสักพักเลยนะครับ พอดีผมเพิ่งจะว่างเขียนตอนต่อของครั้งที่แล้วที่เราลองลงโปรแกรม R Commander กัน วันนี้จะมาขอเสนอวิธีการนำเข้าข้อมูลจาก Excel เข้าตัวโปรแกรม R Commander ครับ ซึ่งไม่ยากเลยครับ
ตัวโปรแกรม R Commander จริงๆ แล้วสนับสนุนการนำเข้าไฟล์ข้อมูลจากหลายแหล่งครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ของ SPSS, Stata, SAS ก็สามารถเอาข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาเปิดได้ครับ แต่วันนี้ผมจะขอเสนอวิธีการนำเข้าจาก Excel เนื่องจากคิดว่าน่าจะเป็นแหล่งเก็บข้อมูลโปรเจคเล็กๆ ของใครๆ หลายๆ คนนะครับ ก่อนอื่นเลยก็อยากจะให้ย้อนไปเตรียมข้อมูลใน Excel ให้เหมาะสมกับการนำเข้ามาในโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งสามารถหาอ่านได้จากบล็อกตอนเก่านะครับ (http://www.clinicalepi.com/2015/05/blog-post.html)
วิธีการเอาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ .XLSX เข้าโปรแกรม R Commander ไม่ยากเลยครับ สมมติว่าผมมีข้อมูลใน Excel แบบนี้นะครับ
03 พฤศจิกายน 2560
23 มีนาคม 2560
ใช้ R Commander ในการวิเคราะห์ข้อมูล – ง่ายพอๆ กับ SPSS แต่ฟรี
สืบเนื่องมาจากผมได้รับคำปรึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูลจากน้องนักศึกษาแพทย์ที่อยู่ต่างจังหวัดที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเล็กๆ แต่น้องเขาไม่มีโปรแกรมอะไรอยู่กับตัวเลย ต้องพึ่งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต ผมเลยต้องมามองหาว่ามีตัวเลือกโปรแกรมฟรีอะไรบ้างที่สามารถใช้งานได้ไม่ยากนักในการวิเคราะห์ข้อมูล จะให้เขาใช้ SPSS ก็เกรงว่าอาจจะยุ่งยากในการหา License ที่ถึงแม้มหาวิทยาลัยจะมีให้แต่ก็ต้องเข้ามาใช้ในระบบ พอดีนึกขึ้นได้ว่าโปรแกรม R เองก็มีคนเขียนโปรแกรมเสริมแบบให้คนวิเคราะห์คลิ๊กๆ อย่างเดียวที่ชื่อ R Commander อยู่ ปรากฎว่าลองให้น้องใช้แล้วได้ผลดีเลยจะมาบอกต่อกันครับ
หลายคนคงจะรู้จักกับ R อยู่แล้ว สำหรับคนที่ไม่รู้จัก โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรีที่ไว้วิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาหลักๆ ของการใช้ R คือคนใช้จะต้องมีความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมเป็นพอสมควร คำสั่งต่างๆ จะต้องพิมพ์ลงไป แทบไม่มีอะไรให้คลิ๊ก และบางครั้งก็นึกไม่ออกว่าต้องพิมพ์คำสั่งยังไง และคำสั่งมีอะไรบ้าง (เปิดโปรแกรมมาจะเป็นหน้าว่างๆ ให้พิมพ์คำสั่งเลย) สำหรับผู้ใช้มือใหม่แล้วสิ่งนี้ถือว่าเป็นหายนะกันเลยทีเดียวครับ ทำให้โปรแกรม R ที่ถึงแม้จะฟรีแต่ก็สู้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลอื่นที่พัฒนาให้คนใช้งานง่ายอย่าง SPSS, STATA ไม่ได้ (เพราะใช้กันไม่เป็น) อย่างไรก็ดีสำหรับโปรเจคใหญ่ๆ ที่มีนักสถิติที่สามารถเขียนโปรแกรมเป็นและใช้งาน R ได้ก็มักจะนิยมการใช้ R กันเพราะมีคำสั่งที่ผู้ใช้เขียนส่งๆ กันไว้เยอะมาก (เพราะฟรี) และนักสถิตระดับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศก็นิยมใช้กันครับ
สำหรับตัว R Commander นี้หลักๆ เลยคือเราจะต้องลงโปรแกรม R ก่อน หลังจากนั้นค่อยลงโปรแกรมเสริม (ใน R จะเรียกว่า Package) R Commander ซ้ำลงไปอีกทีครับถึงจะใช้โปรแกรม R Commander ได้ ซึ่งวิธีลงโปรแกรมนี่คลิ๊กอย่างเดียว ไม่ต้องตกใจว่าต้องพิมพ์คำสั่งอะไรเลยนะครับ ผมเคยเขียนเรื่องการลงโปรแกรม R ไว้นานแล้ว แต่เพื่อให้ทันสมัยก็ขออนุญาตเขียนใหม่รวบยอดเลยแล้วกัน
หลายคนคงจะรู้จักกับ R อยู่แล้ว สำหรับคนที่ไม่รู้จัก โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรีที่ไว้วิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาหลักๆ ของการใช้ R คือคนใช้จะต้องมีความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมเป็นพอสมควร คำสั่งต่างๆ จะต้องพิมพ์ลงไป แทบไม่มีอะไรให้คลิ๊ก และบางครั้งก็นึกไม่ออกว่าต้องพิมพ์คำสั่งยังไง และคำสั่งมีอะไรบ้าง (เปิดโปรแกรมมาจะเป็นหน้าว่างๆ ให้พิมพ์คำสั่งเลย) สำหรับผู้ใช้มือใหม่แล้วสิ่งนี้ถือว่าเป็นหายนะกันเลยทีเดียวครับ ทำให้โปรแกรม R ที่ถึงแม้จะฟรีแต่ก็สู้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลอื่นที่พัฒนาให้คนใช้งานง่ายอย่าง SPSS, STATA ไม่ได้ (เพราะใช้กันไม่เป็น) อย่างไรก็ดีสำหรับโปรเจคใหญ่ๆ ที่มีนักสถิติที่สามารถเขียนโปรแกรมเป็นและใช้งาน R ได้ก็มักจะนิยมการใช้ R กันเพราะมีคำสั่งที่ผู้ใช้เขียนส่งๆ กันไว้เยอะมาก (เพราะฟรี) และนักสถิตระดับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในต่างประเทศก็นิยมใช้กันครับ
สำหรับตัว R Commander นี้หลักๆ เลยคือเราจะต้องลงโปรแกรม R ก่อน หลังจากนั้นค่อยลงโปรแกรมเสริม (ใน R จะเรียกว่า Package) R Commander ซ้ำลงไปอีกทีครับถึงจะใช้โปรแกรม R Commander ได้ ซึ่งวิธีลงโปรแกรมนี่คลิ๊กอย่างเดียว ไม่ต้องตกใจว่าต้องพิมพ์คำสั่งอะไรเลยนะครับ ผมเคยเขียนเรื่องการลงโปรแกรม R ไว้นานแล้ว แต่เพื่อให้ทันสมัยก็ขออนุญาตเขียนใหม่รวบยอดเลยแล้วกัน
ขั้นตอนในการลงโปรแกรม R
- ไปที่เว็บ https://cran.r-project.org/
- ที่หน้าเว็บจะมีเลือก Download R มีให้เลือกทั้ง Linux, Mac, Windows
- จะขึ้นหน้าจอย่อยให้เลือกว่า จะลง base/contrib/… ให้เลือกลิงค์ที่เขียนว่า base
- เลือก Download R (ขณะที่ผมเขียนคือรุ่น 3.3.3 for Windows)
- เซฟลงเครื่องแล้วเรียกโปรแกรมติดตั้ง
- โปรแกรมติดตั้งใช้ไม่ยากครับ ก็กด Next ตามไปเรื่อยๆ ก็ได้ครับ
- หลังจากนั้นจะมีไอคอน R บนหน้าจอวินโดวส์นะครับ มีทั้ง i386 (แบบ 32 บิต) และแบบ x64 (แบบ 64 บิต) ใช้อันไหนก็ได้ครับ ส่วนตัวผมใช้อัน 64 บิต
ขั้นตอนในการลง R Commander ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมของ R
- เปิดโปรแกรม R ขึ้นมาก่อน จะพบหน้าจอแบบรูป ไม่ต้องตกใจนะครับ เราไม่ต้องพิมพ์คำสั่งอะไร
- เลือกเมนู Package >> Install packages..
- ถ้าเป็นครั้งแรกที่กดเมนูนี้ โปรแกรมจะให้เลือกว่าจะดาวน์โหลดโปรแกรมเสริม (Package) มาจากที่ไหน จริงๆ เลือกที่ไหนก็ได้นะครับ ผมเลือก Cloud (อันแรก)
- หลังจากนั้นโปรแกรมจะมีรายการยาวๆ ของ Package ทั้งหมดที่เราสามารถจะลงให้โปรแกรม R ได้ ให้เราเลือกมาที่ Rcmdr ครับ
- โปรแกรมจะถามว่าเราต้องการลงใน Personal Library หรือไม่ ให้ตอบ Yes
- ถ้าเป็นครั้งแรก โปรแกรมจะให้เราสร้าง Personal Library ให้ตอบ Yes เช่นกันครับ
- หลังจากนั้นโปรแกรมจะดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมดลงในเครื่องครับ ขั้นตอนนี้อาจจะเสียเวลาสักพักนะครับ
- ถ้าลงเสร็จแล้ว หน้าจอจะขึ้นว่า The downloaded binary package are in …
วิธีการเปิด R Commander
- เนื่องจาก R Commander เป็น Package ของ R ดังนั้นทุกครั้งที่เราจะเรียกใช้ ต้องเปิด R ขึ้นมาก่อนนะครับ
- หลังจากเปิด R แล้วให้เลือกเมนู Package >> Load package…
- โปรแกรมจะแสดง Package ทั้งหมดที่ลงไว้ในเครื่อง ให้เราเลือก Rcmdr
- ถ้าเป็นครั้งแรกในการเริ่ม R Commander จะมีคำเตือนขึ้นมาว่าให้เราลงบางแพคเกจเพิ่มเติม ให้กด Yes ครับ
- โปรแกรมจะถามว่าให้ลงจากไหน ให้เลือก CRAN แล้วกด OK
- โปรแกรมจะทำการลงแพคเกจเพิ่มเติมให้อีกนิดหน่อย
-
เสร็จแล้วจะเรียก RCommander ขึ้นมาแล้วครับ
ในบล็อกตอนถัดไป ผมจะสอนวิธีการเรียกข้อมูลขึ้นมาง่ายๆ
ใน R Commander และวิธีการทำ Descriptive Statistics ในโปรแกรม R Commander นะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)